วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การทำบทความ

บทความเกี่ยวกับกล้วยไม้ป่า

การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ป่า(กล้วยไม้ไทย)

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า “ผมไม่ได้สนับสนุนให้มีการนำกล้วยไม้ออกมาปลูกเลี้ยง” แต่กล้วยไม้ป่าที่ผมจะพูดถึงในวันนี้ เป็นกล้วยไม้ป่าที่มาจาก
ชาวบ้านตัดไม้เพื่อทำการเพาะปลูก ในที่นี้คือ ปลูกข้าว ทำให้ต้องตัดต้นไม้ ออกเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการปลูก (ผมไม่ทราบว่าทำไมต้องตัดออก เมื่อก่อน
มีต้นไม้ในทุ่งนาเยอะแยะ ก็ร่มรื่นดี แต่ตอนนี้ตัดออกซะแล้ว) เลยทำให้กล้วยไม้ที่อยู่บนต้นไม้ต้องตายลงในที่สุด แต่ก็มีบุคคลบางกลุ่มสงสารเลย
นำมามัดติดต้นไม้ไว้ที่บ้าน เพื่อเป็นการอนุรักษ์มันไว้ไม่ให้ตายลงไป ซึ่งป่าทางภาคอิสานที่ผมอาศัยอยู่ใน กล้วยไม้ที่เห็นชาวบ้านนำมาติดตอไม้
มากที่สุดเห็นจะเป็น  เขาแกะ ช้าง สิงโต เข็มขาว ฯลฯ ซึ่งได้รับการบอกเล่าจากชาวบ้านว่า นำมาจากต้นไม้ที่ตัดทิ้งที่ทุ่งนา
การดูแลกล้วยไม้ป่าของชาวบ้านมีดังนี้
1. แกะออกมาจากต้นไม้ที่ตัดทิ้งไป
2. นำมามัดติดต้นไม้ด้วยเชือกฟาง
3. รดน้ำทุกวันเพื่อให้รากติด
4. พอรากติดแล้วไม่ต้องดูแลอะไรเลย

วีดิโอ


วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทความกล้วยไม้ป่า5


กล้วยไม้ป่าPDFพิมพ์อีเมล
เขียนโดย เดินเท้าหนึ่ง วันอาทิตย์ที่ ๑๖ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๒๒:๒๐ น.   
ARCH-003อัญมณีประดับผืนป่าตามฤดูกาล ตัวแทนของความงามตามธรรมชาติและภาพสะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า บางชนิดออกดอกในฤดูหนาว บางชนิดท้าลมแรงและแสงแดดในยามแล้ง บางชนิดผลิดอกพร้อมฝนแรก แต่บางครั้งก็น่าเศร้าที่มีบางคนเก็บกล้วยไม้ป่าออกไปขาย และน่าเศร้ามากขึ้นเมื่อมีคนซื้อไปปลูก ทั้งที่รู้และไม่รู้ว่าทำลายสิ่งใดไปบ้าง แมลงหลายล้านชนิดอาศัยอยู่ในกอกล้วยไม้ บางชนิดยังไม่มีการค้นพบหรือศึกษา หรือกล้วยไม้ดินมีประโยชน์ต่อการรักษาสภาพดินและการรักษาหน้าดิน และอีกสิ่งที่จะถูกทำลายคือขวัญและกำลังของเจ้าหน้าที่ผู้มานะบากบั่นปกปักรักษาผืนป่า ลองนึกภาพผู้ลักลอบนั่งนับเงิน ผู้ซื้อนั่งชื่นชมดอกงามอยู่ในเรือนกล้วยไม้เปรียบเทียบกับผู้พิทักษ์ป่าเดิน ตากฝน กรำแดด ตรวจรักษาผืนป่า บางคนต้องนอนซมด้วยพิษไข้มาลาเรีย

บทความกล้วยไม้ป่า4


โครงการรวบรวมข้อมูลพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี
     กล้วยไม้.... เป็นพืชที่มีจำนวนมากที่สุดของโลก สำหรับประเทศไทยมีการค้นพบกล้วยไม้ป่า 168 สกุล 1,170 ชนิด ดังนั้นจึงเป็นทรัพยากรที่มีค่าของไทย เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า ดังนั้นภาควิชาพืชสวนจึงได้รวบรวมข้อมูลพันธุ์กล้วยไม้ป่า โดยเฉพาะในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งยังมีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ในเขตอำเภอ บุณฑริก นาจะหลวย และน้ำยืน ภาควิชาพืชสวน และได้รวบรวมกล้วยไม้ที่พบในเขตจังหวัดอุบลราชธานี

บทความกล้วยไม้ป่า3


กะเรกะร่อน เป็นกล้วยไม้สกุลแคมบิดอิอุม หรือคิมบิเดียม หรือซิมบิเดียม (Cymbidium =Kim-bid-ee-um)ที่นิยมปลูกกันแพร่หลาย และเป็นสกุลใหญ่ มีประมาณ 44 ชนิด พบในประเทศไทย 19 ชนิด บางชนิดขึ้นตามพื้นดินบางชนิดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีหัวสั้นหรือยาว ใบเป็นแถบยาวค่อนข้างแข็งหรือเป็นแผ่นรูปรี โคนใบซ้อนถี่หุ้มหัวไว้ ช่อดอกมักจะยาว ในบางชนิดตั้งหรือโค้ง บางชนิดห้อยลงดอกค่อนข้างโตกลีบเลี้ยงและกลีบดอกคู่ข้างคล้ายกัน กลีบปากมีหูปากตั้งและชิดกับเส้าเกสร กลางกลีบมีเยื่อนูนเป็นสันตามยาว 2 แนว เส้าเกสรยาวและโค้งเล็กน้อย บางชนิดมีกลุ่มเรณู 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มเว้าลึก บางชนิดมีกลุ่มเรณู 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มยึดติดกับแผ่นเยื่อ กว้างและสั้น ส่วนใหญ่ดอกของกล้วยไม้ชนิดนี้บานนท และดอกในช่อทยอยบานเป็นเวลานาน
ประเทศไทยพบที่ เชียงใหม่ เลย เพชรบูรณื นครราชสีมา จันทบุรี

บทความกล้วยไม้ป่า2

กล้วยไม้ป่า



ประเด็นการนำกล้วยไม้จากป่ามาเลี้ยงถูกหยิบยกมาวิพากษ์วิจารณ์กันบ่อย แต่ทุกครั้งก็ไม่มีทางได้ข้อสรุป คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องในตลาดก็มีหลายกลุ่ม เช่นกลุ่มนายทุน กลุ่มนักล่า คนขนส่ง ผู้ขายรายใหญ่ คนขายรายย่อย กว่าจะมาถึงคนซื้อรายย่อยจริงๆ รับรองได้ว่าห่วงโซ่อุปทานยาวมากๆ

ผมถามคนซื้อกล้วยไม้ป่ารายหนึ่งว่าทำไมไม่ซื้อไม้ขวดมาเลี้ยง เขาตอบว่า “กล้วยไม้ทุกชนิดบนโลกนี้ ล้วนมีบรรพบุรุษมาจากกล้วยไม้ป่าทั้งสิ้น น้าโหดว่าใช่มั้ย” ผมพยักหน้า “แล้วไม้ดอกไม้ประดับชนิดอื่นๆ อย่าง กระดังงา โกสน โป๊ยเซียน กระบองเพชร น้าโหดว่ามันมาจากพันธุ์ป่ามั้ย” ผมตอบอย่างที่เขาคาดเดาให้ตอบว่า “ใช่” แล้วน้าโหดเคยถามคนที่ซื้อจันผา เปราะ นกป่า ม้าน้ำ เสือโคร่ง มาขายบ้างหรือเปล่าว่ารู้สึกอย่างไรบ้างที่อุดหนุนของป่า ของพวกนี้เป็นของคนทั้งโลกแหละ ทุกคนก็มีสิทธิใช้สอย ทำไมชาวบ้านไปถกกะเรกะร่อนจากต้นตาลมาปลูกหน้าบ้านไม่ว่าเขาผิด แล้วทำไม แจ้ดๆๆๆ ฉอดๆๆๆ lsie85kksjalaod0rkdl …… (อ้าวเฮร้ยซซซ ปากจัดอิ๋บเป๋งเลย)

อีกรายไปเที่ยวป่า กลับกรุงเทพมาพร้อมด้วยกล้วยไม้ป่าถุงใหญ่ บอกว่าไปเที่ยวพื้นที่ป่าที่เขากำลังจะสร้างเขื่อนเขากับพวกจึงระดมปีนเก็บกล้วยไม้มาปลูกที่บ้าน และพูดอย่างภูมิใจเหมือนกับว่าได้เป็นผู้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโลกว่าการถกกล้วยไม้มากองใหญ่นี้คือการช่วยชีวิต เพราะหากปล่อยไม้กล้วยไม้เหล่านี้ก็ตายอยู่ดี ผมคิดดูแล้วก็ท่าจะจริง แต่หลักเกณฑ์ว่าใครคือผู้เข้าไปเก็บแล้วไม่ผิด ถ้าชาวบ้านแถวนั้นเก็บไปปลูกประดับที่บ้านก็น่าจะดูดี ถ้าเก็บไปส่งนายทุนเพื่อเอาไปขายก็เริ่มแย่ลง ถ้าคนจากถิ่นอื่นเขาไปเก็บเพื่อใช้สอย ก็แล้วแต่เราตัดสินว่ากล้วยไม้นี้เป็นสมบัติของคนในท้องถิ่น คนในจังหวัด หรือของคนไทย หรือมวลมนุษยชาติกันแน่

บอกแล้วว่าเรื่องนี้ต่อให้เถียงกันให้ตาย ชาติหน้าก็ไม่จบ 

บทความกล้วยไม้ ป่า1


เคยเห็นฟ้ามุ้ยไหมครับ ถ้าเคย...
จึงจะแจ้งว่ากล้วยไม้ป่าไทยนั้นมีความงดงามเพียงใด
ภาพเอื้องฟ้ามุ่ยของคุณหนูนา แห่ง Thailand Wilderness Study
............................................
กล้วยไม้ป่าไทยพบได้ทั่วไปในแหล่งธรรมชาติ จากการสำรวจล่าสุดพบว่ามีถึง 168 สกุล รวม 1,170 ชนิด กระจายอยู่ในป่าเขตร้อนทั่วทุกภาค ก่อให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมอย่างสูง ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยเราจึงกลายเป็นตลาดกล้วยไม้ที่สำคัญของเอเชียและของโลก จนกลายเป็นพืชส่งออกที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ นำเงินตราเข้าประเทศปีละมากกว่า 1,000 ล้านบาท
         กล้วยไม้ป่าไทย เป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ทั้งในด้านสี ความมันวาวของกลีบดอก ทรงดอก และที่สำคัญคือ กลิ่นที่มีความหอมละมุน ที่สำคัญมีลักษณะการบานทนมาก บางพันธุ์ดอกบานนานเป็นเดือน เช่น เอื้องผึ้ง บางพันธุ์ออกดอกตลอดทั้งปี เช่น เขากวางอ่อน จึงเป็นที่ต้องการของตลาดในและต่างประเทศอย่างมาก
        ปัญหาที่ประสบในปัจจุบันคือ ความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์หลาย ๆ สกุล โดยเฉพาะ ฟ้ามุ่ย อันเนื่องมาจากการลักลอบขโมยกล้วยไม้จากป่าธรรมชาติ แม้จะมีกฎหมายออกมาบังคับใช้ และมีข่าวการจับกุมผู้ลักลอบโจรกรรมกล้วยไม้ออกจากป่าค่อนข้างบ่อยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
ภาพกล้วยไม้ทั้งหมดผมถ่ายจากสวนผึ้ง ออร์คิด จ.ราชบุรีครับ
ทั้งหมดเป็นแวนดาบลู ที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากฟ้ามุ่ย
       แต่เท่าที่ทราบจากแหล่งข่าวในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น ยังคงมีนายทุนใช้อำนาจเงินตราสั่งให้คนทองถิ่นเข้าไปขุดกล้วยไม้ป่าพันธุ์หายาก

    ปัญหานี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ 40-50 ปีก่อนแล้ว ปัจจุบันก็ยังแก้ไขไม่ได้
     จากสถิติการจับกุมผู้ลักลอบค้ากล้วยไม้ป่า ของสำนักงานป้องกันและปราบปราม กรมป่าไม้ พบว่า ตั้งแต่ปี 2540-2545 สามารถยึดพืชป่าสงวนได้ถึง 309,695 ต้น โดยเฉพาะในปี 2545 มีจำนวนมากถึง 120,000 ต้น อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา สถิติการจับกุมพืชป่าลดลง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้และตำรวจกวดขันอย่างหนัก แต่ผมมองว่า สถิติการจับกุมที่น้อยลงอาจเป็นเพราะมีกล้วยไม้ป่าหลงเหลืออยู่อีกไม่มากนักมากกว่า
แวนด้าลูกผสม ฟอร์มดอกใหญ่และสีสดมาก
        ที่จะหาง่าย ๆ เหมือนเมื่อก่อนก็คงไม่มีหวังแล้ว บางทีเดินป่าเป็นวันก็ไม่เห็นกล้วยไม้ป่าก็มี น่าเศร้าใจจริง ๆ
      เมื่อกล้วยไม้ป่าในประเทศกำลังใกล้หมดป่า ก็มีสินค้าใหม่มาขายจากป่าในประเทศลาวและพม่า โดยแหล่งซื้อขายใหญ่มีทั้งหมด 3 แห่ง คือ ด่านแม่สอดชายแดน จ.ตาก ด่านช่องเม็ก จ.อุบลราชธานี และด่านสังขละบุรี จ.กาญจนบุรี (ฆาตกรรมกล้วยไม้ป่าในประเทศยังไม่หนำใจ ยังไปฆ่าตัดตอนกล้วยไม้ป่าประเทศเพื่อนบ้านอีก )
    สำหรับมือสมัครเล่นที่เลี้ยงกล้วยไม้มา 15 ปีอย่างผม มองเห็นปัญหานี้มาตลอด สาเหตุที่คนซื้อกล้วยไม้ป่าก็เพราะราคาถูก แต่หารู้ไม่ว่ากำลังทำผิดกฎหมาย ทำลายทรัพยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่า อีกทั้งกล้วยไม้ป่าที่นำมาเลี้ยงก็บอบช้ำจากการขนส่งเต็มที หลาย ๆ ต้นต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะฟื้นตัว ใช้เวลาหลายปีกว่าจะออกดอก แถมบางต้นต้องตายไปเพราะไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ
     หากเจ้าหน้าที่จับกุมได้ก็ส่งไปไว้ที่เก็บพืชป่าของกลาง ปลูกได้ไม่นานก็ตายเหมือนกัน
    ความสวยงามที่สร้างสรรค์โลกใบนี้ กลับนำมาซึ่งอันตรายถึงแก่ชีวิต... หรือนี่คือสัจจธรรม